ผ้าเบรกในประเทศไทย ปัจจุบันมีมากกว่า 100 ยี่ห้อ หลากหลายชนิดและหลายคุณภาพ เป็นเรื่องยากอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้รถ ในการวิเคราะห์และเลือกซื้อผ้าเบรกให้ตรงตามงบประมาณ และความต้องการของผู้ใช้รถอย่างคุ้มค่าที่สุด
สำหรับการขับขี่ทั่วไป ควรใช้ผ้าเบรกเกรดเดียวกับผ้าเบรก ที่ติดมากับรถยนต์ ใหม่ในปัจจุบัน เนื่องจาก
- ผ้าเบรกออกแบบให้ทำงานได้ดีในสภาวะต่างๆ เช่น ขับขี่ในเมือง บรรทุกของหนัก หรือลุยน้ำ
- ผ้าเบรกทำงานได้ดีกับจานเบรก และมีอัตราการทำลายจานเบรกที่ต่ำมาก
- การสัมผัสเบรกจะให้ความรู้สึกนุ่ม และหยุดรถตามแรงที่เหยียบคันเบรก
- ฝุ่นละอองของผ้าเบรกมีน้ำหนักเบา ไม่ก่อตัวเป็นเขม่าดำให้เลอะเทอะบนล้อ
ควรเลือกผ้าเบรกให้ตรงตามลักษณะการขับรถหรือการใช้งาน
- ผ้าเบรกรถแข่ง ควรใช้สำหรับรถแข่งเท่านั้น เพราะผ้าเบรกบาง ชนิดทำงานได้ เต็มประสิทธิภาพเมื่อรถใช้ความเร็วสูงเท่านั้น
- ผ้าเบรกเพื่อใช้งานหนัก(เนื้อโลหะ) ควรใช้สำหรับรถที่ใช้บรรทุก ของหนักเป็น ประจำ เนื่องจาก ผ้าเบรกถูกออกแบบมา เพื่อรับสภาพรับน้ำหนักบรรทุกสูงๆ และความเร็วสูงๆ หากรถบ้านนำไปใช้อาจจะรู้สึกเบรกแข็ง หรือสัมผัสเบรก แบบกระชากรุนแรง อาจจะเป็นอันตรายได้
- ผ้าเบรกแต่ละชนิดให้ัสัมผัสเบรกที่แตกต่างกัน และความรู้สึก ทางอารมณ์ที่แตกต่างกัน เช่น ปัญหาเรื่องเสียง ปัญหาเรื่องเขม่าดำบนวงล้อ ปัญหาเรื่อง การบำรุงรักษา
ควรหลีกเลี่ยงการอัดผ้าเบรก เนื่อง จากแ่ผ่นรอง ผ้าเบรกหรือก้ามเบรก ที่ผ่านการ ใช้งานแล้ว คุณสมบัติ ของเหล็กจะเปลี่ยนไป รวมทั้งการบิดเบี้ยวของ แผ่นเหล็ก อาจทำให้การทำงานของเบรกผิดพลาด อีกทั้งการอัดผ้าเบรก ส่วนใหญ่จะใช้ความชำนาญ ของช่างเป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณภาพ ซึ่งเป็นการยากอย่างยิ่ง ในเรื่องของ ประสิทธิภาพและ ความมั่นใจของผลิตภัณฑ์
(การอัดผ้าเบรกใหม่ คือ การนำตัวผ้าเบรกใหม่ ทากาวหรือยาง บนโครงเหล็กเก่าของดรัมเบรก หรือดิสเบรก ปัจจุบันผ้าเบรกสำเร็จรูปและดิสเบรกสำเร็จรูปมีราคาถูก ดังนั้นควรเลือก ใช้แบบสำเร็จรูปดีกว่าที่จะไปอัดผ้าเบรกตามร้าน)
|